ธรรมะสั้นๆ จาก พระอาจารย์ ไพโรจน์ กตธมฺโม

โทร.084-4190553           sutyata@gmail.com


   
การเดินจงกรมสั้นๆง่ายๆในชีวิตประจำวัน ธรรมะสำหรับความผิดหวัง
   
นิพพานสั้นๆง่ายๆ พุทธะมีอยู่ทุกขณะในชีวิต
   

• ธรรมะคือหน้าที่
• ธรรมะคือชีวิต (ธรรมะทำให้ชีวิตสดชื่น)

• การให้ที่แท้จริงคือการเสียสละและตรงกับความต้องของผู้รับ,

• สงบเย็น หมายถึง นิพพาน (ชั่วคราวก็ยังดี)

• ร้อนนอก อย่าร้อนใน (พยายามสังเกตจิตของเราว่าร้อนกายหรือว่าร้อนใจกันแน่)

• มีสติอยู่ทุกขณะคือมีพุทธะอยู่ในจิต (ชั่วคราวก็ยังดี)
• ป่วยกายอย่าป่วยใจ
• การนับหนึ่งให้ถึงสิบเพื่อทำให้จิตระงับ
หายใจเข้า-หายใจออก นับ หนึ่ง
หายใจเข้า-หายใจออก นับ สอง...นับอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนถึงสิบก่อนจะตัดสินใจทำอะไร.
• การเดินจงกรมสองจังหวะตามธรรมชาติของการเดิน
ขณะเท้าขวาสัมผัสพื้นนึกคำว่า พุท
ขณะเท้าซ้ายสัมผัสพื้นนึกคำว่า โธ

ธรรมมะทั่วไป

1. พุทโธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
2. ไสยศาสตร์ หมายถึง หลับหรือมืด(หลงงมงาย)
3. อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจในสิ่งใดแล้วต้องลงมือกระทำหรือมีความเพียร
พยายามในสิ่งที่ตั้งใจไว้
4. อ้อนวอน หมายถึง การสวดอ้อนวอนเฉยๆแล้วไม่ลงมือกระทำ
5. เศรษฐี หมายถึง ผู้มีเศษพอเหลือจะให้ผู้อื่นได้
6. ยาจก หมายถึง ผู้ขอ หรือ ผู้ไม่รู้จักพอ
7. ใจที่ฝึกดีแล้วย่อมไม่เป็นไปตามร่างกาย เช่น ร้อนนอกไม่ร้อนใน พิการร่างกายแต่ไม่พิการใจ ป่วยกายแต่ไม่ป่วยใจ
ทุกข์นอกไม่ทุกข์ใน เป็นต้น
8. ความอยากในทางที่ชั่ว เรียกว่า ตัณหา เป็นฝ่ายอกุศล มีผลเป็นความทุกข์
9. ความอยากในทางที่ดี เรียกว่า ฉันทะ เป็นฝ่ายบุญกุศล มีผลเป็นความสงบร่มเย็น
10. การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง เช่น ให้วิธีการหาปลาดีกว่าการให้ปลา ให้ปัญญาดีกว่าให้สิ่งของ
11. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับเรา
12. อัตตา หมายถึง การเอาแต่ตัวเป็นใหญ่ หรือ ความเห็นแก่ตัว
13. อนัตตา หมายถึง การไม่เอาตัวเป็นใหญ่ หรือ ความไม่เห็นแก่ตัว
14. ความยึดมั่นจนเป็นทุกข์ เรียกว่า อุปาทาน เป็นฝ่ายอกุศลและเป็นสิ่งที่จะต้องละ
15. ความยึดมั่นแต่พอดีไม่เป็นทุกข์ เรียกว่า สมาทาน เป็นฝ่ายกุศลและเป็นสิ่งที่
ควรกระทำ เช่น สมาทานพระพุทธ สมาทานพระธรรม สมาทานพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
16. นิพพานมีความหมายหลายอย่างคือ ตาย , เย็นหรือหายร้อน , แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึงความสงบร่มเย็นแห่งจิตใจหรือความดับไปแห่งกิเลส มีสองประเภทคือ
16.1 นิพพานชั่วคราวหรือชั่วขณะ หรือ นิพพานของชาวบ้าน เช่น
ขณะใดที่จิตใจมีความสงบร่มเย็นก็ เรียกว่า นิพพานชั่วคราวหรือชั่วขณะ
ขณะใดที่จิตใจมีความปลอดโปร่งเบิกบานเย็นสบายก็ เรียกว่า นิพพานชั่วคราวหรือชั่วขณะ
ขณะที่ใจของเราว่างๆอยู่ขณะนั้นก็ เรียกว่า นิพพานชั่วคราวหรือชั่วขณะเช่นกัน
ให้ลองสังเกตในแต่ละวันมีหลายครั้ง หรือลองสังเกตขณะใดใจของเรามีความโกรธมีความหงุดหงิดรำคาญแล้ว
หายโกรธหายหงุดหงิดรำคาญขณะนั้นก็ เรียกว่า นิพพานชั่วคราวหรือชั่วขณะ
16.2 นิพพานถาวรหรือนิพพานโดยตรง เช่น ของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์
17. สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ 4 ประการ หรือ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการดังนี้ 1 ทุกข์ หมายถึง ความทุกข์ หรือ ปัญหา
2 สมุทัย หมายถึง เหตุแห่งความทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา
3 นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ หรือ ความไม่มีปัญหา
4 มรรค หมายถึง วิธีแก้ความทุกข์ หรือ การแก้ปัญหา
* สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ รวมลงในข้อเดียว คือ การดับทุกข์ หรือ การแก้ปัญหา *
18. อริยะฤทธิ์ หมายถึง การทำใจมองผู้อื่นที่ น่าเกลียด น่าชัง ให้เป็นผู้น่าเมตตา หรือการทำใจมองสิ่งที่ น่ารัก น่าใคร่ น่าติดใจให้เป็นสิ่งไม่เที่ยง
19. วิปัสสนา หมายถึง การเห็นแจ้ง (เห็นแจ้งตามความเป็นจริงตามธรรมชาติที่มันเป็น)
20. ทาน หมายถึง การให้มี 5 อย่าง
1. ทานเจาะจง เช่น รักใครชอบใครก็ให้คนนั้น
2. ทานไม่เจาะจง เช่น สังฆทาน การให้กับส่วนรวม
3. ถาวรวัตถุทาน เช่น การบริจาควัสดุก่อสร้างในพระพุทธศาสนา เป็นต้น
4. อภัยทานหรืออโหสิกรรม เช่น โกรธใคร เกลียดใคร ก็ให้อภัยเป็นทาน เป็นต้น
5. ธรรมทาน เช่น การให้ธรรมะหรือให้ความรู้กับผู้อื่นชนะการให้ทั้งปวง
21. ศีล หมายถึง การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
22. สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น หายใจเข้า พุท -- หายใจออก โธ
เวลาเดิน เท้าขวาเหยียบพื้นนึกคำว่า พุท เท้าซ้ายเหยียบพื้นนึกคำว่า โธ
23. ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้หรือความรู้เท่าทันพอใช้ประโยชน์ได้
(มิใช้ความรู้ทั้งหมด)
24. หัวใจพระพุทธศาสนามี 3 ข้อ
1. การละความชั่ว
2. การทำความดีให้ถึงพร้อม
3. การทำใจให้บริสุทธิ์ (นิพพานทั้งโดยตรงและโดยอ้อม)
25. การแผ่เมตตามีอานิสงส์กว่าการให้ทาน 300 หม้อต่อวัน แต่ให้ดี ต้องทำทานด้วย แผ่เมตตา ด้วยจึงจะครบบริบูรณ์
26. การชนะตนเองเพียงครั้งเดียวดีกว่าการชนะผู้อื่นเป็นร้อยเป็นพันครั้ง
27. รู้ธรรมะบทเดียวแล้วชีวิตสงบระงับดีกว่ารู้มากแต่ชีวิตเดือดร้อน
28. สุญญตา หมายถึง ความว่าง (ว่างดีกว่าวุ่น)
29. ตถตา หมายถึง มันเป็นเช่นนั้นเอง ( ก็ต้องปล่อยวาง )
30. อตัมมยตา หมายถึง การพอแล้ว เลิกแล้ว ไม่เอาแล้ว ( เพราะการเห็นโทษในสิ่งต่างๆ )
31. เหงื่อคือน้ำมนต์อันวิเศษ
32. ธรรมะคือหน้าที่ หมายถึง การทำหน้าที่ให้ถูกต้องเรียกว่าผู้มีธรรมะ
33. การศึกษาธรรมะย่อมมีผลได้ไม่มากก็น้อย ที่จะไม่มีผลเลยเห็นจะไม่มี
34. ร้อนใจเป็นบาป เย็นใจเป็นบุญ
35. ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า
36. ธรรมะเป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดว่าจะเป็น เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ หรือ คนชรา หรือ หญิง หรือ ชาย
37. ความเห็นแก่ตัวตรงกับภาษาอังกฤษ “ Ego ” ตรงกับบาลีว่า “ อัตตา ”
38. สุคติของเทวดา คือ มนุษย์ เช่น เทวดาอวยพรให้กับเทวดาผู้กำลังจะสิ้นอายุให้ไปเกิดเป็นมนุษย์
39. บุคคลมุ่งศึกษา เพื่อความเก่งอย่างเดียว มักจะมีปัญหาดังนี้
1.มักสะเพร้า หลงสติบ่อยๆ ไม่รอบคอบ
2.มักหยิ่งไม่ฟังใคร
3.มักเห็นแก่ตัว
4.มักไม่ละอายหรือเกรงกลัวต่อบาป
40. เยาวชนควรจะ เก่ง, ดี, รู้จักทำงาน (ปัญญาที่แท้จริงได้จากประสบการณ์) โอวาทจาก ร.๙
41. ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นความรู้ระดับ ศรัทธา คือ ความเชื่อ แต่ความรู้ที่เกิดจากการลงมือกระทำแล้วเห็นจริง
ด้วยตนเอง (ประสบการณ์) เรียกว่า ปํญญาในทางพระพุทธศาสนา
42. พิจารณาก่อนบริโภค เช่น การรู้จักพิจารณาก่อนกินอาหาร จักทำให้ไม่เกิดโทษ เป็นต้น
43. ภาวนา แปลว่า การทำให้เจริญหรือการทำบ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ
44. อนิจจัง หมายถึง ความไม่เที่ยง
45. ทุกขัง หมายถึง ความเป็นทุกข์ หรือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
46. อนัตตา หมายถึง แยกย่อยแล้วไม่มีตัวตนที่แท้จริงหรือบัญญัติรูปลักษณะไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง.
47. วิริยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม เช่น ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง ผู้ปฏิบัติคือเราเอง
48. รู้เท่าทันสมัยอย่าหลงสมัย
49. เกเรแต่ไม่ชั่วดีกว่าทั้งชั่วและเกเร
50. ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
51. จาคะที่แท้จริงคือการเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน
52. ทมะ หมายถึง การข่มใจไม่ให้ชั่ว
53. จะดีหรือชั่วก็เพราะเพื่อน(คาถาสำหรับให้เยาวชนท่องให้ขึ้นใจ)

 
 
Free Web Hosting